วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่5

สรุปและอภิปรายผล
    จากโครงงานเรื่อง แผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน สามารถสรุปได้ดังนี้
จาการทดลอง แผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนสามารถ เก็บเสียงได้จริง
และใช้งานได้จริง มีลักษณะเบา และมีความแข็งแรง ทนทาน
        จากการทดสอบประสิทธิภาพแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนทั้ง 3 ครั้งได้ผลดังนี้
ครั้งที่ 1 เราปล่อยต้นกำเนิดเสียง 75 เดซิเบล และเสียงผ่านผนังเก็บเสียง 64 เดซิเบล เสียงที่ลด 11 เดซิเบล
ครั้งที่ 2เราปล่อยต้นกำเนิดเสียง 75 เดซิเบล และเสียงผ่านผนังเก็บเสียง 63 เดซิเบล เสียงที่ลด 12 เดซิเบล
ครั้งที่ 3เราปล่อยต้นกำเนิดเสียง 75 เดซิเบล และเสียงผ่านผนังเก็บเสียง 64 เดซิเบล เสียงที่ลด 11 เดซิเบล
จากการทดลองทั้งสามครั้ง ผลปรากฏว่าแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนสามารถลดเสียงได้จริง  เฉลี่ยประมาณ 11.33  เดซิเบล

ข้อเสนอแนะ
1.ควรตากแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนให้แห้ง  ไม่งั้นจะขึ้นราและส่งกลิ่นเหม็น
2.ควรสับเปลือกทุเรียนให้เล็กหรือทำให้เป็นเส้น เพื่อที่จะง่ายต่อการทำแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน

ปัญหา
- สภาพอากาศ
-สับเปลือกทุเรียนไม่ละเอียด เลยทำให้เวลาที่เราผสมเข้ากับส่วนผสมต่างๆ ส่วนผสมจะไม่เข้ากัน พอมันแห้ง มันก็จะหลุดออกได้ง่าย



บทที่4

ผลการทดลอง/วิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล

      1.ศึกษาการผลิตแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเลือกทุเรียน
จาการทดลอง แผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนสามารถเก็บเสียงได้จริง
และใช้งานได้จริง มีลักษณะเบา มีความแข็งแรงทนทาน
      2.การศึกษาผลการทดลองแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
จาการทดสอบประสิทธิภาพแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน


         ตารางที่ 1  ตารางแสดงผลการทดลองการดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน ครั้งที่ 1

รายการ
ระดับเสียง
ต้นกำเนิดเสียง
เสียงผ่านผนังเก็บเสียง
เสียงที่ลด
1.แผ่นกันเสียงและดูดซบเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
75
64
11

จากตารางที่ เราได้ปล่อยเสียงต้นกำเนิด 75 เดซิเบล และเสียงที่ผ่านผนังเก็บเสียงได้ 64 เดซิเบล ผลปรากฏว่าแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนสามารถลดเสียงได้จริง และลดเสียงได้ 11 เดซิเบล


           ตารางที่ 2  การแสดงผลการทดลองการดูดซับเสียงจากเส้นใยจากเปลือกทุเรียน ครั้งที่ 2


รายการ
ระดับเสียง
ต้นกำเนิดเสียง
เสียงผ่านผนังเก็บเสียง
เสียงที่ลด
1.แผ่นกันเสียงและดูดซบเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
75
63
12



จากตารางที่ เราได้ปล่อยเสียงต้นกำเนิด 75 เดซิเบล และเสียงที่ผ่านผนังเก็บเสียงได้ 63เดซิเบล ผลปรากฏว่าแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนสามารถลดเสียงได้จริง และลดเสียงได้ 13 เดซิเบล


           ตารางที่ 3  การแสดงผลการทดลองการดูดซับเสียงจากเส้นใยจากเปลือกทุเรียน ครั้งที่ 3


รายการ

ระดับเสียง
ต้นกำเนิดเสียง
เสียงผ่านผนังเก็บเสียง
เสียงที่ลด
1.แผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
75
64
11

จากตารางที่ เราได้ปล่อยเสียงต้นกำเนิด 75 เดซิเบล และเสียงที่ผ่านผนังเก็บเสียงได้ 64เดซิเบล ผลปรากฏว่าแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนสามารถลดเสียงได้จริง และลดเสียงได้ 15 เดซิเบล

 จากทั้งสามตารางผลปรากฏว่าแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนสามารถลดเสียงได้จริง  เฉลี่ยประมาณ 11.33  เดซิเบล


ตารางที่ 4  ค่าเฉลี่ยผลการทดลองการดูดซับเสียงจากเส้นใยจากเปลือกทุเรียน
รายการ
ค่าเฉลี่ย  (เดซิเบล)
1.แผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
11.33

จากทั้งสามตารางผลปรากฏว่าแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนสามารถลดเสียงได้จริง  เฉลี่ยประมาณ 11.33  เดซิเบล



บทที่3.

วิธีดำเนินการโครงงาน


ในการจัดทำโครงงาน เรื่อง แผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ประจำปีการศึกษา 2560  มีวิธีดำเนินการดังต่อไปนี้

1.  ขั้นตอนเตรียมการ

ในการจัดทำโครงงานมีขั้นตอนการเตรียมการดังนี้

          1. ประชุมอภิปรายการจัดทำโครงงาน แต่งตั้งประธาน รองประธาน เลขาธิการ   และเหรัญญิก
          2. กำหนดชื่อเรื่องโครงงานในหัวข้อการรักษาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งสมาชิกได้มีความเห็นร่วมกันแต่งชื่อเรื่องในการจัดทำโครงงานคือ แผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
           3. ตั้งวัตถุประสงค์ตามแผนการดำเนินงาน เพื่อเป็นเป้าหมายในการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำได้ได้ตั้งวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาการทำแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
2. อยากทราบถึงประสิทธิภาพในการกันเสียงและดูดซับเสียง
3. จากแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
              4. มอบหมายและแบ่งภาระงานให้กับสมาชิก
รายชื่อผู้ร่วมงาน
ตำแหน่ง
ชื่อ-นามสกุล
หน้าที่ ความรับผิดชอบ
ประธาน
นางสาวนันธิยา นาประจักษ์
มอบหมายงาน
รองประธาน
     นางสาวณิชากร เจริญสุข
ประสานงาน
เลขาธิการ
     นางสาวปฐมภรณ์ อารีมิตร
จดบันทึก
สมาชิก
     นางสาวธิธาฏา ทองพิทักษ์
ดำเนินงาน

     นางสาวนิภาภรณ์ ดีจำเนียร
ดำเนินงาน
                                       







2.  วัสดุและอุปกรณ์ 
2.1 เปลือกทุเรียน
2.2 แป้งมัน
2.3  เศษกระดาษหรือหนังสือพิมพ์
2.4  กะละมัง
2.5 มีด
2.6 เขียง
2.7 บล็อกหรือแม่พิมพ์
2.8 ขวด

3.  วิธีการดำเนินการ
3.1  ประชุมวางแผน                         
3.2  ออกปฏิบัติการ                            
3.3  ค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต                 
3.4  ปฏิบัติการผลิตแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
3.5  ทดสอบประสิทธิภาพแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน              
3.6   สรุปผลและรายงานโครงงาน

ขั้นตอนการผลิตแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน
1. นำเปลือกทุเรียนสดมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ





   2. นำเปลือกทุเรียนที่สับแล้วไปตากแดดให้แห้ง
              


               3. ฉีกกระดาษหนังสือพิมพ์เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วน้ำไปแช่น้ำ 1-2 วัน



4. ใช้มือขยำกระดาษหรือใช้เครื่องปั่น ปั่นให้ละเอียด




 5. เตรียมผสมกาวแป้งเปียก
   

 6. นำเปลือกทุเรียนตากแห้ง และใยกระดาษหนังสือพิมพ์ผสมลงในกาวแป้งเปียก        

ด้วยอัตราส่วน 50:50



 7. นำส่วนผสมทั้งหมดที่คลุกเคล้าจนได้ที่แล้ว ไปอัดใส่พิมพ์
   


 8. นำส่วนผสมที่อัดใส่พิมพ์แล้ว ไปผึ่งแดดจนแห้ง




9. แกะออกจากพิมพ์ จะได้แผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน



ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียน  


1.             นำแผ่นกันเสียงและดูดซับเสียงจากเส้นใยเปลือกทุเรียนไปติดใส่ในกล่องกระดาษ





      2.ใส่โทรศัพท์เข้าไปในกล่องปิดฝากล่อง และวัดความดังเสียงจากภายนอก


 





              3.ทำการทดลองซ้ำ เพื่อความแม่นยำของผลการทดลอง

บทที่2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แผ่นซับเสียง (sound absorption) และ แผ่นเก็บเสียง (acoustic board) 

จะใช้สำหรับ แก้ปัญหาเสียงก้อง และ เสียงสะท้อน ในห้องหรือในอาคาร มีหลักการทำงานคือยอมให้เสียงผ่านเข้ามาใน ฉนวนและดูดซับพลังงานเสียง นั้นเอาไว้ส่วนหนึ่ง เปรียบเสมือนกับเราเอาฟองน้ำซับน้ำที่หกลงบนโต๊ะ แต่สำหรับ แผ่นกันเสียง (soundproof) จะมีความแตกต่างตรงที่จะไม่ยอมให้เสียงผ่านไปได้ คล้ายกับการสาดน้ำใส่แผ่นพลาสติกที่น้ำจะกระเด็นกลับมา เป็นต้น
วัสดุซับเสียง และ วัสดุกันเสียง ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภทที่เป็นไฟเบอร์ หรือเส้นใย อย่างเช่น ใยแก้ว และใยหิน ซึ่งจะมีความอ่อนนุ่มให้ตัวได้ และส่วนใหญ่จะไม่กันน้ำ กับอีกประเภทคือ วัสดุที่เป็นยาง หรือไวนิล ที่มีผิวเรียบ ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหา หากสัมผัสกับน้ำหรือของเหลว
ผนังกันเสียง และ ผนังกั้นเสียง เป็นผนังเดียวกัน ทำหน้าที่มิให้ คลื่นเสียงเดินทางผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้ เช่น เครื่องสับไม้ที่มีเสียงดัง 100 dBA เมื่อเครื่องทำงาน และชุมชนนอกโรงงานได้ยินเสียงดังนี้ที่ระดับ 90 dBA เมื่อมีการทำ ผนังกันเสียง ระหว่างโรงงานกับชุมชน จะทำให้ระดับเสียงที่ชุมชนนอกโรงงานได้ยินลดลงจาก 90 dBA เหลือเพียง 75-80 dBA เป็นต้น ส่วน ผนังเก็บเสียง นั้นจะหมายถึง ผนังที่ลดเสียงสะท้อน ในห้องประชุม หรือ convention hall มากกว่า
เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้
การเกิดเสียง เสียง เริ่มเกิดขึ้นเมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียงมีการสั่นสะเทือนส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบ กล่าวคือโมเลกกุลของอากาศเหล่านี้จะเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิมไปชนกับโมเลกุลที่อยู่ถัดไป ก่อให้เกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ให้กับโมเลกุลที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันนี้จะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลที่เคลื่อนที่มาจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฏิกิริยาและโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงานจะเคลื่อนที่ไปชนกับโมเลกุลที่อยู่ถัดไป ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นสลับกันไปมาได้เมื่อสื่อกลาง (ในที่นี้คืออากาศ) มีคุณสมบัติของความยืดหยุ่น การเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศนี้จึงเกิดเป็นคลื่นเสียง



ประเภทของเสียงแบ่งตามลักษณะการเกิดเสียงได้ 3 ลักษณะ

1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise) เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state Noise) และเสียงดีงต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non steady state Noise)
1.1 เลียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงจากเครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เสียงพัดลม เป็นต้u
1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non-steady state Noise)  เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มี ระดับเลียงเปลี่ยนแปลงเกินก่า  10 เดชิเบล  เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน    เครื่องเจียร    เป็นต้น
2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (lntermittent Noise) เป็นเสียงที่ดังไม่ต่อเนีอง มีความเงียบหรีอเบากว่าเป็นระยะๆลลับไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม เสียงจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น
3. เสียงดังกระทบ หรือ กระแทก (lmpact or lmpulse Noise) เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว ในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดชิเบล เช่น เสียงการตอกเสาเข็ ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบเคาะอย่างแรง เป็นต้น

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่1




 บทนำ


     1.ความเป็นมาของโครงงาน
   เนื่องจากเป็นหน้าทุเรียน แล้วเปลือกทุเรียนก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเราจึงนำเปลือกทุเรียนมาดัดแปลงเป็นที่กักเก็บเสียงโดยใช้จากเส้นใยธรรมชาติเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการซื้อแผ่นซับเสียง และสามารถนำสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติมาประประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเล็งเห็นว่าตามธรรมชาติทั่วไปมีเส้นใยธรรมชาติมากมายที่มีคุณสมบัติซับเสียงได้ อาทิเช่น ไหมข้าวโพด กากมะพร้าวและใยบวบซึ่งสามารถหาได้ทั่วไปเพราะมีการปลูกกันอย่างกว้างขวาง  นอกจากแผ่นซับเสียงจะช่วยลดการสะท้อนของเสียงแล้ว ยังช่วยลดขยะในสังคมและเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1 เพื่อศึกษาสิ่งประดิษฐ์ที่สามารเก็บเสียง (ผนังเก็บเสียง)ได้
2.2เพื่อศึกษาสิ่งมาแทนผนังเก็บเสียง
2.3เพื่อนำสิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติที่สามรถซับเสียงได้มาประยุกต์ใช้

    3.ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
3.1เพื่อใช้สิ่งเหลือใช้ให้มีมูลค่า
3.2เพื่อใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด
3.3เพื่อลดขยะในสังคม